เมืองโบราณบ้านทะเมนชัย

บ้านทะเมนชัย เป็นชุมชนที่ถูกสันนิษฐานว่า เป็นเมืองเก่า จากแนวกำแพงเมืองและคูเมืองที่ปรากฏให้เห็นเด่นชัดในรูปถ่ายทางอากาศทุกโครงการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 และมีหลักฐานจากนักโบราณคดี กรมศิลปากร ที่แสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของชุมชน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก ราว 2,500 ปีมาแล้ว และสมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16

เหล่าผู้คนท้องถิ่นเล่าที่มาว่า ชื่อเดิมคือ “เขมรชัย” เนื่องจากเขมรได้รับชัยชนะ ต่อมาเพี้ยนมาเป็น “ทะเมนไชย” ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินที่ระดับความสูงประมาณ 180 -185 เมตร มีคูเมืองล้อมรอบขอบเนินเป็นรูปวงรี ตามแนวเหนือใต้ 3 ชั้น กว้างยาวโดยประมาณ 244  ไร่  ขุดถึงระดับกักเก็บน้ำแล้วระบายเข้าสู่คูเมือง ตามแนวหุบระหว่างเนินด้านใต้และระบายออกตามแนวห้วยทะเมนชัย ปัจจุบันภายในเมืองใช้เป็นที่อยู่อาศัย ส่วนคูเมืองได้มีการขุดลอกเพื่อใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับชุมชน

ก่อนจะมาเป็นเทศบาลตำบลทะเมนชัย

ตราสัญลักษณ์ประจำเทศบาล (Logo)

วิสัยทัศน์

  • สภาพแวดล้อมน่าอยู่
  • สาธารณูปโภคครบครัน
  • การคมนาคมสะดวก
  • การศึกษาก้าวหน้า
  • พัฒนาคุณภาพชีวิต
  • สร้างเศรษฐกิจชุมชน
  • บนหลักบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

วีดีทัศน์

ยุทธศาสตร์และการพัฒนา

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง

มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมถนน ท่อระบายน้ำ ทางเท้า สะพาน และปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม มีการพัฒนาระบบจราจรให้ครอบคลุมพื้นที่และมีประสิทธิภาพ มีการขุดลอกแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความจำเป็นสำหรับประชาชนในเขตเทศบาล และมีการส่งเสริมวินัยการจราจร

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ

มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธารณะและขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำอย่างครอบคลุม และทั่วถึง ตลอดจนการแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบประปาให้ได้มาตรฐาน และขยายเขตบริการประปาให้เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชนบนหลักปรัชญา“เศรษฐกิจพอเพียง”

มีการเสริมสร้างขบวนการชุมชนเข้มแข็ง สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ โดยให้คำแนะนำบริการต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต

มีการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีโครงการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการให้กับประชาชน โครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตลอดจนการป้องกันรักษาและส่งเสริมสุขภาพพลานามัยของประชาชน

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มีการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบำบัดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร เครื่องมือเครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติงาน การบริหารจัดการด้านการเงิน การคลังและงบประมาณที่สามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงระบบบริการประชาชน พร้อมทั้งจัดให้มีสถานที่กลางของชุมชุนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน