พระเขี้ยวแก้ว วัดหลิงกวงจากจีนประดิษฐานในไทย

พระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มาประดิษฐาน ณ ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว แต่พลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนยังหลั่งไหลมาสักการะและเวียนทักษิณาวรรตรอบพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) เพื่อน้อมรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ กันอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการดูแล จัดระเบียบ รักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่และจิตอาสาอย่างใกล้ชิด เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น

ประชาชนที่ได้มาสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มีความรู้สึกอิ่มเอม ซาบซึ้ง และความปลื้มปีติที่ได้มากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างใกล้ชิดเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง และเป็นเรื่องที่ดีที่ได้เชื่อมความสัมพันธ์ของไทย – จีน ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

นอกจากได้มาสักการะ และเวียนทักษิณาวรรตรอบพระเขี้ยวแก้ว ทุกวันยังมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ วันละ ๒ รอบ รอบเช้าเวลา ๑๐.๐๐ น.-๑๒.๐๐ น. และรอบบ่ายเวลา ๑๖.๐๐ น. และเจริญจิตตภาวนา

ประชาชนสามารถเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ได้

🗓️ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘

🕖 เวลา ๐๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.

📌 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

🪷 มีการจัดเตรียมดอกไม้ โปสการ์ด และน้ำดื่มไว้บริการ

🦽 มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกตอบข้อซักถามและมีบริการรถวีลแชร์ให้กับผู้สูงอายุและคนพิการ

* แต่งกายสุภาพ งดเสื้อสายเดี่ยว เกาะอก เสื้อบาง กางเกงยีนส์ขาด กางเกงขาสั้น เข้ากราบสักการะ

———————————-

พระเขี้ยวแก้ว วัดหลิงกวง ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญของพระพุทธศาสนา เชื่อว่า เป็นพระทันตธาตุศักดิ์สิทธิ์ (ฟัน) ของพระพุทธเจ้าซึ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1955 ภายในเจดีย์โบราณใกล้เมืองซีอาน และถูกนำมาประดิษฐานในอาคารพิเศษที่ วัดหลิงกวง ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในกรุงปักกิ่ง

#ประวัติพระเขี้ยวแก้ว วัดหลิงกวงจากจีน

วัดหลิงกวง ตั้งอยู่บนเชิงเขาทางทิศตะวันออกของเทือกเขาด้านตะวันตกของกรุงปักกิ่ง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,000 ปี โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและบรรยากาศที่สงบงดงาม มีชื่อเสียงในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั้งในจีนและจากต่างประเทศ

#พระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว

#มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบจาก

#กรมประชาสัมพันธ์

#ฐานเศรษฐกิจ